ชาที่ดี ต้องดื่มง่ายและทำง่าย สินค้าโยคุที่เปิดตัวในยุคแรกๆ ของเราคือ “ชานม” เรามีส่งวัตถุดิบให้แฟรนไชส์ชั้นนำมาตั้งแต่ปี 2007 จนถึงปัจจุบัน เรียกได้ว่าเราคือผู้นำ ผู้บุกเบิก ของวัตถุดิบชาชนิดต่างๆ ในประเทศไทยซึ่งคุณภาพเป็นที่ยอมรับทั้งแฟรนไชส์และ OEM. ก้าวต่อไปของโยคุ เราจะอยู่เคียงข้างและส่งตรงใบชาที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด ถึงมือผู้บริโภคมากขึ้น
ความรู้เรื่องใบชา
ในเรื่องของกระบวนการผลิตชาจะเริ่มจากการเก็บใบชาสด แล้วนำมาเข้ากระบวนการที่ทำให้เกิดการหมักในระดับที่แตกต่างกันไป ซึ่งเมื่อจัดแบ่งประเภทของชาตามระดับของการหมักแล้ว จะสามารถแบ่งชาหลัก ๆ ออกได้เป็น 3-4 ประเภท คือ ชาขาว (White Tea), ชาเขียว (Green Tea), ชาอู่หลง (Oolong Tea) และชาดำ (Black Tea) โดยชาขาวและชาเขียวนั้นเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมักเลย ส่วนชาอู่หลงเป็นชาที่ผ่านการหมักบางส่วน และชาดำเป็นชาที่ผ่านการหมักอย่างสมบูรณ์
ชามีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ลดไขมัน กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยแก้อาการซึมเศร้า ป้องกันฟันผุ กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย
กระบวนการในการผลิตชา
ใบชาสดที่นิยมทำมาผลิตชาคุณภาพนั้น จะมีการเก็บใบชาในลักษณะสองใบกับหนึ่งยอด มาผ่านกรรมวิธีเพื่อให้มีกลิ่นและรสชาติชาตามลักษณะเฉพาะตัว
กรรมวิธีการผลิตและพันธุ์ของชาที่ใช้ จะเป็นตัวกำหนดคุณภาพและราคาของชา
การผลิตใบชาโดยทั่วไปนั้นคือการเอาใบชาสดมากรรมวิธีดังนี้
- ผึ่ง (Withering)
- คั่ว (Firing)
- นวด (Rolling)
- อบ (Drying)
โดย กรรมวิธีเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมี โดยใช้เครื่องมือทางอุตสาหกรรมหรือภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างที่เคยมีมา
การผลิตชาเขียว
สายพันธุ์ที่นิยมใช้คือชาพันธุ์อัสสัม และเช้าพันธุ์อู่หลงเบอร์ 12 ชาเขียวคือชาที่ได้จากกรรมวิธีการผลิตแบบ non-fermented คือไม่ผ่านกระบวนการการหมักใดใดเลย ซึ่งมีการยับยั้ง ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ที่จะเกิดกับ polyphenol ในใบชาสด และใช้ความร้อนสูงทำให้ enzyme ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสารในกลุ่ม polyphenol ให้กลายเป็นสารอื่น ซึ่งทำให้สาร Catechins มีปริมาณมากกว่าชาชนิดอื่น (10-30% โดยน้ำหนัก) จึงเป็นที่มาของชาที่มีสรรพคุณสูงในด้านสุขภาพและการรักษาโรค
การผลิตชาอู่หลง
ชาสายพันธุ์ที่นิยมนำมาผลิตคือสายพันธุ์จีนทั้งหมด เป็นชาที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตแบบ Semi-fermented คือจะยอมให้มีกรรมวิธีการหมักแค่บางส่วน ซึ่งมักจะใช้ความปราณีตพิถีพิถัน ซึ่งกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญรวมถึงกรรมวิธีการผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อนทำให้ได้ชากลิ่นหอมและรสชาติดี
การผลิตชาดำ
สายพันธุ์ที่ใช้คือชาอัสสัม ชาดำหรือบางคนเรียกว่าชาแดง เป็นชาที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตแบบ fermented คือชาที่ผ่านกรรมวิธีการหมักแบบเต็มระบบ โดยสาร polyphenols ในใบชาสดจะถูกเปลี่ยนสภาพเป็นสาร theaflavins (1-2% โดยน้ำหนัก) และสาร thearubigins (10-20% โดยน้ำหนัก) ซึ่งทำให้ชามีกลิ่นหอมและสีน้ำตาลแดงเข้ม การทำใบชาประเภทนี้อาจจะใช้ใบแก่ซึ้งมากกว่าส่วนที่เป็นสองใบกับหนึ่งยอด ทำให้ใบชาประเภทนี้มีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับใบชาชนิดอื่น